วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)


          คณะรัฐมนตรี หรือที่นิยมเรียกกันว่ารัฐบาล เป็นคณะบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐสภาให้ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพื่อความผาสุก ความปลอดภัย และความสงบของประชาชนทั้งประเทศ
          คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งสรุปความสำคัญของคณะรัฐมนตรีได้ดังนี้
          1. คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรฝ่ายบริหารที่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมาย กล่าวคือเป็นคณะบุคคลที่ทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้หลังจากที่รัฐสภาได้ตรากฎหมายออกมาแล้ว เช่น รัฐสภาออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง คณะรัฐมนตรีก็จะต้องจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางขึ้นมา ซึ่งจะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ รัฐสภาออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร คณะรัฐมนตรีก็มีหน้าที่จัดเก็บภาษีตามที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้ เป็นต้น
          2. คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายมากมาย สามารถกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินได้ตามแนวคิดของคณะรัฐมนตรีคณะนั้นๆ มีอำนาจในการควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วประเทศ
          3. คณะรัฐมนตรีมีอำนาจทางการเมืองทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมืองภายในประเทศด้วยในการบริหารราชการแผ่นดิน และใช้อำนาจทางการเมืองภายนอกประเทศในการติดต่อกับต่างประเทศแทนรัฐหรือชาติไทย การกระทำนั้นผูกพันกับประเทศ
อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
          อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รวมทั้งตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และระเบียบต่างๆ ตลอดจนตามประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมีอยู่มากมายด้วยกัน สรุปได้ดังนี้
          1. กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่แถลงขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
          2. ควบคุมข้าราชการประจำให้นำนโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผล
          3. ประสานงานกับกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันได้ร่วมมือกันปฏิบัติงาน
          4. กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่จะกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับในเรื่องต่างๆ เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ
          5. พิจารณาและมีมติในเรื่องต่างๆ ที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เสนอมาให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้เนื่องจากในการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ย่อมจะต้องมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับนโยบาย เรื่องใหม่ซึ่งควรจะให้คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายหรือเรื่องซึ่งมีลักษณะเป็นงานประจำ ที่กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับได้กำหนดให้ต้องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
          เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกัน จึงได้ตรากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้น ปัจจุบันนี้ใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ซึ่งจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
          แบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ดังนี้
          1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบและบัญชาข้าราชการประจำรองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตี และรัฐมนตีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
          สำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตีและคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมาย และพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตี หรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มีได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
          1.2 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เป็นผู้ช่วย มีปลัดกระทรวงเป็นผู้รับผิดชอบและบังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
          ในแต่ละกระทรวงจะมีอำนาจหน้าที่ตางกันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยให้มีกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงทั้งสิ้น 20 กระทรวง ดังนี้
               (1) สำนักนายกรัฐมนตรี (ได้กล่าวมาแล้ว)
               (2) กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม
               (3) กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการทำรายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการให้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง
               (4) กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
               (5) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหนาที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
               (6) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัวและชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
               (7) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม การป่าไม้ การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบการชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรมและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
               (8) กระทรวงคมนาคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม หรือส่วนราชการอื่นที่สังกัดกระทรวงคมนาคม
               (9) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               (10) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
               (11) กระทรวงพลังงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน
               (12) กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์
               (13) กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายในกิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย
               (14) กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม
               (15) กระทรวงแรงงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครองแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน
               (16) กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม
               (17) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
               (18) กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
               (19) กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน การควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของการทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
               (20) กระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
          1.3 กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม เป็นส่วนราชการที่แบ่งรองลงมาจากกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติข้าราชการของกระทรวง ในกรมหนึ่งอาจมีรองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชารองจากอธิบดี
          1.4 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวง แต่ขึ้นตรงต่อนกยกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักอัยการสูงสุด อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
          การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในท้องที่ต่างๆ จากส่วนกลางเพื่อปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และของกระทรวง และกรมต่างๆ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็นจังหวัดและอำเภอ
          2.1 จังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยตราเป็นพระราชบัญญัติ มาฐานะเป็นนิติบุคคล โดยรวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด และมีส่วนราชการของกระทรวง หรือกรมต่างๆ ไปตั้งอยู่ ณ จังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องที่
          2.2 อำเภอ เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด อำเภอหนึ่งประกอบด้วยหลายตำบล มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการภายในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ นอกจากนี้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ซึ่งกระทรวง กรมต่างๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ
          หน่วยงานรองลงไปจากอำเภอ คือ ตำบล ในแต่ละตำบลมีกำนันเป็นหัวหน้าปกครอง หน่วยงานย่อยรองตำบลลงไป คือ หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นหัวหน้าปกครอง

3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
          ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจปกครองไปให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองท้องถิ่น โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
          3.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นหน่วยการปกครองที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มีหน้าที่ดำเนินกิจการด้านการพัฒนา การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการแบ่งสรรเงินให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
          สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในจังหวัดนั้น มีจำนวนมากน้อยตามเกณฑ์ของราษฎรในจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
          นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน และรองนายก 2-4 คน ตามเกณฑ์ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร
          3.2 เทศบาล การจัดตั้งเทศบาลให้ดูสภาพท้องถิ่นอันสมควรยกฐานะเป็นเทศบาล โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งอาจตั้งเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เทศบาลประกอบด้วยสภาเทศบาล และคณะเทศมนตรี
          สภาเทศบาล ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
          คณะเทศมนตรี ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี และเทศมนตรีตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด คณะเทศมนตรีทำหน้าที่บริหารงานของเทศบาลภายใต้การควบคุมของสภาเทศบาล และมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล และงานประจำของเทศบาล
          3.3 สภาตำบล เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีฐานะเป็นนิติบุคคล สมาชิกสภาตำบลประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้านในตำบล แพทย์ประจำตำบล และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบล หมู่บ้านละหนึ่งคน
          3.4 องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหน่วยการปกครองที่พัฒนามาจากสภาตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งกำหนดให้ตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยพ้นสภาพจากสภาตำบลนั้น และมีฐานะเป็นนิติบุคคล
          องค์การบริการส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
          สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในตำบลหมู่บ้านละ 2 คน หากตำบลใดมี 1 หมู่บ้าน ให้เลือกสมาชิกได้ 6 คน ถ้าตำบลใดมี 2 หมู่บ้านให้เลือกสมาชิกได้หมู่บ้านละ 3 คน และให้สภาตำบลเลือกสมาชิกเป็นประธานสภา 1 คน เป็นรองประธานสภา 1 คน เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
          คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ประธานกรรมการบริหาร 1 คน และกรรมการบริหาร 2 คน ซึ่งได้รับเลือกจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร
          3.5 กรุงเทพมหานคร เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ.ศ. 2542) มีฐานะเป็นนิติบุคคล การบริหารกรุงเทพมหานครประกอบด้วย สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
          สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรโดยการแบ่งเขตๆ ละ 1 คน ซึ่งใช้ราษฎรประมาณ 100,000 คน เป็นเกณฑ์ สภากรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
          ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 4 คน แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการประจำ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
          3.6 เมืองพัทยา เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย สภาเมืองพัทยา และนายกเมืองพัทยา
          สภาเมืองพัทยา ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยสมาชิกเลือกประธานสภาเมืองพัทยา แล้วเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีแต่งตั้ง
          นายกเมืองพัทยา ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน มีอำนาจหน้าที่บริหารภายในองค์กรซึ่งประกอบด้วยสำนักปลัดเมืองพัทยา และส่วนราชการอื่น
          การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องอยู่ใกล้ตัวนักเรียน จึงควรทำความเข้าใจ และต่อไปเมื่อนักเรียนพ้นเกณฑ์การศึกษาแล้ว อาจเข้าไปมีส่วนรวมหรือมีบทบาทในองค์การเหล่านี้
การเสริมอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ
          การที่คณะรัฐมนตรีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารประเทศ มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงมีหลักการที่เป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้รัฐบาลมีเสถียรภาพในการบริหารประเทศ มาตรการที่สำคัญ คือ
          1. เพิ่มความเข้มแข็งให้พรรคมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ และพรรคที่ได้คะแนนเสียงต่ำกว่าร้อยละ 5 ไม่มีสิทธิได้ ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ เพื่อสกัดพรรคเล็กที่เข้ามาในสภาและไม่อาจมีบทบาทได้เต็มที่ แต่อาจสร้างความไร้เสถียรภาพให้รัฐบาลได้ มาตรการนี้จะทำให้พรรคการเมืองใหญ่มีโอกาสดีกว่าพรรคเล็ก
          2. การกำหนดให้การยื่นญัตติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีทำยากกว่ารัฐมนตรีอื่น คือต้องใช้เสียง 2 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด และจะต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีใหม่มาด้วย เพื่อให้นายกรัฐมนตรีอยู่เหนือความกดดันของรัฐมนตรีอื่นในคณะรัฐบาล
          3. การไม่ให้รัฐมนตรีเป็น ส.ส. ในขณะเดียวกัน เพื่อแยกหน้าที่นิติบัญญัติกับบริหาร เพื่อให้ควบคุม (ส.ส.) กับผู้ถูกควบคุม (รัฐมนตรี) เป็นคนละฝ่าย แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ได้เต็มที่ และที่สำคัญที่สุด ก็เพื่อให้รัฐมนตรีในรัฐบาลผสมต้องประพฤติตนให้อยู่ในวินัยและความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรี และเคารพความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี เพราะหากถูกนายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำให้พ้นตำแหน่งก็จะกลับเป็น ส.ส. ในสภาต่อไปไม่ได้
          นอกจากนี้ ระบบการแยกหน้าที่ใช้คู่กับระบบสัดส่วน ก็จะทำให้พรรคการเมืองส่งคนสำคัญของพรรคและคนมีฝีมือลงในระบบสัดส่วนเพื่อไม่ให้ต้องเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ที่มาจากการแบ่งเขต ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือกคนเป็นรัฐมนตรีได้ทางอ้อม
          4. การป้องกันไม่ให้ ส.ส. ต่อรองกับนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาล เพื่อผ่านกฎหมายให้โดยกำหนดให้การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยเปิดเผย และให้รัฐบาลสามารถนำร่างกฎหมายที่ไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้ที่ประชุมร่วมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้
          5. ให้รัฐบาลตั้งกระทรวง ทบวง กรม หรือโอนหรือยุบกระทรวง ทบวง กรม ได้โดยพระราชกฤษฎีกา เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้ทันการ และข้าราชการต้องตื่นตัวกับงานใหม่ๆ อยู่เสมอ หากไม่มีการเพิ่มข้าราชการหรือลูกจ้างใน 3 ปี


มาตรการในการควบคุมมิให้นายกรัฐมนตรีเป็นเผด็จการ
          เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ส่งเสริมให้รัฐบาลมีเสถียรภาพแล้ว หากไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล ก็อาจจะทำให้รัฐบาลเผด็จการได้ จึงได้มีมาตรการต่างๆ ไว้เพื่อควบคุมมิให้นายกรัฐมนตรีเป็นเผด็จการ คือ
          1. การห้ามยุบสภาระหว่างที่มีการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจแล้ว เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีก่อน
          2. การให้วุฒิสภาซึ่งไม่มีพรรคการเมืองสามารถเปิดอภิปรายทั่วไปได้ โดยไม่มีการลงมติเพื่อขอให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหา
          3. การให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 20,000 คน และ ส.ส. 1 ใน 5 ยื่นขอถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้ และดำเนินคดีอาญาไว้ด้วย
          4. หากพรรคร่วมรัฐบาลไม่อาจร่วมรัฐบาลได้ก็อาจลาออกมาร่วมกับฝ่ายค้านยื่นญัตติไม่ไว้วางใจร่วมกับฝ่ายค้าน โดยอาจเสนอหัวหน้าพรรคที่พ้นจากรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลมาเป็นนายกฯ คนใหม่ได้ หรืออาจให้หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ก็ได้
          ในเมื่อคณะรัฐมนตรีเป็นคณะบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกครองและพัฒนา ประเทศดังกล่าว รัฐบาลนอกจากจะต้องมีนโยบายที่ดีและปฏิบัติงานด้วยความสามารถและซื่อสัตย์ สุจริตแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องควบคุมดูแลข้าราชการและบุคลากรทั้งหมดในหน่วยงานของรัฐให้ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและปราศจากการทุจริตประพฤติมิชอบอีก ด้วย ดังนั้นนอกจากประชาชนจะต้องตรวจสอบผู้แทนประชาชนแล้ว ประชาชนยังต้องตรวจสอบดูแลการประพฤติปฏิบัติในการใช้อำนาจของแต่ละบุคคลใน คณะรัฐมนตรีอีกด้วย

องค์ประกอบของรัฐมนตรี
          คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คนกับรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน

          นายกรัฐมนตรี
          นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส)หรือผู้เคยเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแต่พ้นจากสมาชิกภาพเนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีใน อายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดเดียวกัน
          การเสนอชื่อผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมี ส.ส รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิก ทั้งหมด
          การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องกระทำภายใน 30 นับแต่วันประชุมรัฐสภาครั้งแรก และต้องเป็นการลงคะแนนเสียงโดยเปิดเผย และมตินั้นต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
          กรณีที่มติเลือกนายกรัฐมนตรี มีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดไม่สามารถทำได้ภายใน 30 วัน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เป็นนายกรัฐมนตรี
          นายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในคณะรัฐมนตรี เพราะนอกจากจะได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยทางอ้อมแล้ว นายกรัฐมนตรียังเป็นผู้มีสิทธิ์ขาด ในการเลือกบุคคลมาเป็นรํฐมนตรีอีกด้วย

          รัฐมนตรี
          รัฐมนตรีจะแต่งตั้งจาก ส.ส. หรือจากบุคคลภายนอกก็ได้ แต่จะต่างจาก สว. ไม่ได้(ถ้าแต่งตั้งจาก สส. จะพ้นจากตำแหน่ง สส. หลังจาก 30 วัน นับจากวันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี)
          นายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นรัฐมนตรี จึงต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับรัฐมนตรี

          คุณสมบัติของรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี
          1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
          2. อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
          3. การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
          4. ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปโดยพ้นโทษมายังไม่ถึง5ปี เว้นแต่ในความผิดอันได้กรทำโดยประมาท
          5. ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้ว ยังไม่เกิน 1 ปีเว้นแต่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเพราะสภาหมดอายุ
          6. ไม่มีลักษณะที่เป็นบุคคลต้องห้ามสำหรับรัฐมนตรี 11 ประการ

          ลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นรัฐมนตรี
          บุคคลที่มีลักษณะต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นรัฐมนตรี
          1. ติดยาเสพติดให้โทษ
          2. เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี
          3. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
          4. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช
          5. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
          6. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
          7. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
          8. เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นปกติ
          9. เป็นกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
          10. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากจงใจไม่ยื่นแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบ หรือจงใจยื่นรายการอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
          11. เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติ

          การกระทำอันต้องห้ามของรัฐมนตรี
          ในขณะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีจะต้องไม่กระทำการอันต้องห้าม ต่อไปนี้
          1. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชการการเมือง
          2. ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ตำแหน่งข้าราชการการเมืองอื่นๆหรือตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และจะดำรงตำแหน่งในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็มิได้ด้วย
          3. รับเงินหรือประโยชน์ใดๆจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติกับบุคคลอื่นๆในธุรกิจการงานตามปกติทั้งนี้ไม่รวมถึงกับการเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
          4. รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
          5. เป็นหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือยังคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่รัฐมนตรี ผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป ให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้น กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใดๆเกี่ยวกับหุ้น หรือกิจการของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทดังกล่าว

          การพ้นจากตำแหน่งของรัฐมนตรี
          การพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเฉพาะตัว ความเป็นรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเมื่อ
          1. ตาย
          2. ลาออก
          3. ขาดคุณสมบัติ
          4. มีลักษณะต้องห้าม
          5. กระทำการอันต้องห้าม
          6. ต้องคำพิพากษาให้จำคุก (ไม่ว่าโทษหนักเบาอย่างไร)
          7. สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ
          8. วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนจากตำแหน่ง
          9. มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง (ตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ)

          การพ้นจากตำแหน่งของรัฐมนตรีทั้งคณะ รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
          1. ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
          2. อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
          3. คณะรัฐมนตรีลาออก

          การรักษาการของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง
          คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จนเข้ารับหน้าที่
          การพ้นจากตำแหน่งในกรณีที่สภาหมดอายุ หรือมีการยุบสภา ห้ามมิให้ ผู้รักษาการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรืเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

          รัฐมนตรีรักษาการ สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้
          ในกรณีที่รักษาการเนื่องจากสภาหมดอายุ หรือมีการยุบสภา รัฐมนตรีสามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ชุดใหม่ และถ้าได้รับการเลือกตั้ง ก็อาจดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีรักษาการพร้อมๆกับเป็น ส.ส. ได้จนกว่าจะมีรัฐมนตรีใหม่มารับหน้าที่

          การปฏิญาณตนและการถวายสัตย์ปฏิญาณ
          การปฏิญาณตน ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาของตนด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
          ข้าพเจ้า................(ชื่อผู้ปฏิญาณ).................ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิญาณหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
          การถวายสัตย์ปฏิญาณ คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
          ข้าพระพุทธเจ้า..............(ชื่อผู้ปฏิญาณ)................ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ แบะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศ และประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ

          การแถลงแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
          ก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายใน 15 วัน นับแต่วันเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่มีกรณีสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจนกระทบต่อประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีที่เข้ารับหน้าที่จะบริหารราชการนั้นๆไปพลางก่อนเพียงเท่าที่จำเป็นก่อนแถลงนโยบายก็ได้

          การอภิปรายโดยไม่มีการลงมติ
          รัฐสภาอาจมีการอภิปรายโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจในกรณีต่อไปนี้
          1. เป็นการอภิปรายในการแถลงนโยบายของรัฐบาล
          2. เป็นการอภิปรายในการประชุมที่คณะรัฐมนตรีขอให้มีขึ้นเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา)

          การฟังความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรี
          รัฐธรรมนูญแห้งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่น สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
          1. การฟังความคิดเห็นของรัฐสภา ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบิหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีแจ้งไปยังประธานรัฐสภา ขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของทั้ง 2 สภา แต่ในกรณีนี้รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
          2. การฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยการทะประชาพิจารณ์ หรือการออกเสียงประชามติ

          ประชาพิจารณ์
          ประชาพิจารณ์ คือ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียงสำคัญของบุคคล หรือชุมชนท้องถิ่น

          ประชามติ
          เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประชาชนซึ่งไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่เกี่ยวกับบุคคลใดหรือคณะบุคคลใดๆนายกรัฐมนตรีอาจปรึกษากับประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับเรื่องนั้นๆ
          ประชามติเช่นนี้เป็นการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเท่านั้น คณะรัฐมนตรีอาจทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้

          ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ คือ ผู้มีสทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
          - ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ มาออกเสียงไม่มากกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ถือว่าประชาชนเสียงข้างมากไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่ขอปรึกษานั้น
          - ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ มาออกเสียงมากกว่า 1 ใน 5 ของผู้จำนวนมีสิทธิออกเสียงทั้งหมดให้ถือมติตามเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงนั้น

          ประชามติ (plebiscite) คือ การให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ให้ออกเสียงว่าจะสร้างเขื่อนที่จังหวัด ก หรือไม่ (การทำประชามติต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541)

          อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการยุบสภา
          คณะรัฐมนตรี สามารถควบคุมสภาผู้แทนราษฎรได้เพียงวิธีเดียว คือ การยุบสภา ซึ่งยุบได้เพียงสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้ยุบวุฒิสภา
          พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอาณาจักรในการยุบสภาผู้แทนราษฎรซึ่งในทาง ปฏิบัตินายกรัฐมนตรีจะถวายความเห็นว่ามีเหตุผลในการยุบสภาเพื่อให้พระมหา กษัตริย์ทรงลงปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาประกาศยุบสภา และกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ภายใน 60 วัน

          เหตุผลในการยุบสภา
          1. เมื่อสภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับคณะรัฐมนตรีอย่างรุนแรง เช่น สภาผู้แทนราษฎรไม่ผ่านพระราชกำหนดหรืพระราชบัญญัติสำคัญ และคณะรัฐมนตรีเห็นว่าควรยุบสภาให้ประชาชนตัดสินใจ
          2. เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎรมีพฤติกรรมไม่เหมาะไม่ควร สมควรมีการเปลี่ยนแปลง
          3. คณะรัฐมนตรีต้องการเปลี่ยนแปลงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพื่อความได้เปรียบทางการเมือง เช่น คณะรัฐมนตรีทำงานมีความสำเร็จดีเป็นที่พึงพอใจของประชาชน ก็อาจถือโอกาสนี้ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ จะได้มีสมาชิกพรรคของตนได้รับเลือกตั้งเข้ามามากกว่าเดิม

อำนาจของรัฐสภาในการควบคุมคณะรัฐมนตรี
          สมาชิกรัฐสภา (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา) เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองประเทศแต่ไม่ได้ปกครองเองโดยตรง เพียงแต่ใช้อำนาจปกครองโดยเลือกรัฐบาลทำหน้าที่บริหารประเทศ แล้วควบคุมการทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีด้วยวิธีการต่างๆที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น
          1. ควบคุมโดยการเลือกตัวนายกรัฐมนตรี
          2. ควบคุมโดยการไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
          3. ควบคุมโดยการดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่งเพราะทุจริต หรือร่ำรวยผิดแกติ
          4. ควบคุมด้วยการไม่อนุมัติกฎหมาย (พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด)

          นอกจากนี้ยังมีการควบคุมโดยวิธีปลีกย่อยอื่นๆ อีก ดังจะกล่าวตอไปนี้
         
1. ควบคุมโดยการเลือกตัวนายกรัฐมนตรี
          สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีอำนาจนี้ วุฒิสภาไม่มี
         
2. ควบคุมโดยการไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
          สส. มีสิทธิ์เข้าชื่อกันเสนอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีได้ ซึ่ง สว. ไม่มีสิทธิ แต่ สว. อาจขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติได้ ทั้งนี้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
          สส. มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีได้
          - สำหรับการไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมี สส. เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 และต้องระบุชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีแทนมาด้วย
          - สำหรับการไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ต้องมี สส. เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 (ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้ที่สมควรเป็นรัฐมนตรีแทน)
การลงมติไม่ไว้วางใจ ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

          สมาชิกวุฒิสภา (สว.)
          สว. ไม่มีสิทธิเสนอญัตติขออภิปรายไม่ไว้วางใจ
          แต่ สว. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีสิทธิเข้าชื่อกันขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญได้ แต่ไม่มีการลงมติใดๆและทำได้ครั้งเดียว ในแต่ละสมัยประชุมเท่านั้น
         
3. ควบคุมโดยการดำเนินการเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง
          นอกจากควบคุมโดยการไม่ไว้วางใจในนโยบาย และความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดินแล้วยังควบคุมการทุจริตต่อหน้าที่หรือการร่ำรวยผิดปกติอีกด้วย วุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอน (ดูหัวข้อการตรวจสอบการใช้อำนาจ)
         
4. ควบคุมโดยการอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน
          การบริหารราชการของรัฐบาลจำเป็นต้องมีรายจ่าย คณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาว่าจะใช้จ่ายอะไรอย่างไรเป็นจำนวนเงินเท่าใด หากรัฐสภาไม่ยินยอมร่างพระราชบัญญัติงบประมาณก็ตกไป เท่ากับไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีย่อมบริหารราชการไม่ได้ และเป็นประเพณีปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีจะต้องลาออก
         
5. ควบคุมโดยการอนุมัติร่างพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด
          ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีไม่ลงมติออกเสียงให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับใด ร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นเป็นอันตกไป โดยประเพณีการปกครองแล้ว ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติสำคัญ หรือเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน หรือเป็นพระราชกำหนด จะถือเป็นมารยาทที่คณะรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะ (นายรัฐมนตรีลาออกเพียงคนเดียว ก็จะทำให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ)
   
      6. ควบคุมโดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี
          สส. และ สว. มีสิทธิตั้งกระทู้ถามเพื่อให้รัฐมนตรีตอบ แต่รัฐมนตรีมัสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของประเทศ
โดย สส. สามารถถามเป็นกระทู้สดได้ด้วย (สว. ไม่สามารถถามเป็นกระทู้สดได้)
         
7.ควบคุมโดยการอภิปรายซักถามในการแถงนโยบายของคณะรัฐมนตรี หรือเมื่อคณะรัฐมนตรีต้องการฟังความคิดเห็นของสมาชอกรัฐสภา
          ก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดินคณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา แม้ในการแถงนี้จะเป็นการแถงเพื่อทราบโดยไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจ ต่อสมาชิกรัฐสภาก็สามารถอภิปราย ซักถาม ท้วงติงได้

รายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาลอภิสิทธิ์ 1

From Thailand Political Base

Jump to: navigation, search

รัฐสภาไทย

ประวัติรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่ เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้ เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
  • หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
  • หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
  • หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

อาคารรัฐสภาแห่งใหม่

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ มีกำหนดวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สภาวะและปัญหาระบบรัฐสภาไทยในปัจจุบัน

        หน้าที่ของส่วนที่สองนี้อยู่ที่การนำความเข้าใจส่วนหนึ่งมาปรับ เข้ากับระบบรัฐสภาไทยว่า เมื่อนำระบบรัฐสภามาใช้ในประเทศไทยปัจจุบันแล้ว ก็ได้เกิดเป็นสภาพการปกครองขึ้นอย่างไร มีปัญหาประการใดบ้าง ซึ่งก็ขอเสนอข้อวิเคราะห์ไว้เป็นสังเขปก่อนดังต่อไปนี้
        1) ความสับสนของระบบความรับผิดชอบ ข้อนี้ปรากฏว่าระบบรัฐบาลปัจจุบันมิได้ทำงานให้เป็นไปตามหลักการของระบบ รัฐสภาแต่อย่างใด คณะรัฐมนตรีไม่มีความเป็นคณะ การทำงานของสภาต้องชะงักงันเพราะ ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมิได้มีบทบาทมีความหมายสมตามที่ได้กำหนดไว้ เหตุทั้งนี้ก็เพราะความอ่อนแอของระบบผู้แทนเอง ประกอบกับการแทรกซ้อนจากอิทธิพลนอกระบบเป็นสำคัญ
        2) ในส่วนพรรคการเมือง ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันได้พยายามสร้างขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายนั้น แม้จะทำให้เกิดวินัยขึ้นบ้างก็ตาม แต่ก็เป็นวินัยที่ไม่มีความหมาย เพราะมิใช่พรรคการเมืองที่ทำหน้าที่เป็นกุญแจของประชาธิปไตยแต่อย่างใด
        3) นอกจากผลผิดเพี้ยนในทางปฏิบัติแล้ว ในด้านความคิดก็ได้ผิดเพี้ยนไปด้วยเช่นกัน ทั้งในส่วนความเข้าใจเรื่องระบบการปกครองโดยผู้แทน ระบบการปกครองโดยรัฐธรรมนูญตลอดจนระบบรัฐสภาอยู่ไม่น้อย
        ลักษณะทั้งสามประการนั้นเอง คือสภาพการณ์และปัญหาปัจจุบัน ดังจะขอเสนอไปโดยลำดับดังนี้

ความสับสนของระบบความรับผิดชอบ

1. หลักการของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521
        รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 นี้แท้ที่จริงมีสองฉบับ คือฉบับเฉพาะกาลและฉบับถาวร ตามฉบับถาวรก็มีหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
         (1) สร้างพรรคการเมืองโดยอำนาจของกฎหมายด้วยเทคนิคต่อไปนี้
        ก. บังคับให้สมัคร ส.ส. ทุกคนต้องสังกัดพรรคการเมือง และหากถูกไล่ออกจากพรรคก็จะพ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส. ไปในทันที ขณะเดียวกันก็พยายามจำกัดให้มีน้อยพรรค โดยกำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองจะต้องส่งผู้สมัครเกินกว่ากึ่งหนึ่งของที่นั่ง ทั่วประเทศ และหากได้รับเลือกตั้งไม่ถึง 20 คน ก็ไม่มีสิทธิ์เสนอร่างกฎหมายใด ๆ ได้
        ข. บังคับให้ประชาชนเลือกตั้งเป็นพรรคโดยถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยหวังว่าจะทำให้ประชาชนเลือกที่นโยบายพรรคและบทบาทของพรรคเป็นสำคัญ
         (2) จัดระเบียบรัฐสภาโดยจำกัดอำนาจของสภาให้ลดน้อยลง ไม่มีการลงมติไว้วางใจเมื่อจัดตั้งรัฐบาล ส่วนการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจก็มีบทบังคับกำหนดยึดสิทธิ์เจ้าของญัตติไว้ ในกรณีที่ญัตติคราวก่อนได้คะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
         (3) ให้มีวุฒิสภาเพื่อตรวจสอบทัดทานร่างพระราชบัญญัติ และร่วมในการแก้ไขหรือตีความรัฐธรรมนูญด้วย
         (4) แยกข้าราชการออกจากส่วนระบบการปกครองโดยผู้แทน โดยห้ามมิให้มีตำแหน่งเป็น ส.ส. หรือเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกัน แต่ในส่วนระบบแต่งตั้งคือวุฒิสภานั้นก็มิได้ห้ามไว้แต่อย่างใด และเมื่อแต่งตั้งข้าราชการประจำเป็นวุฒิสมาชิกเป็นจำนวนมาก ก็มีผลเป็นการใช้อำนาจข้าราชการประจำ ทัดทานการปกครองโดยระบบผู้แทน และร่วมใช้อำนาจแก้ไขหรือตีความรัฐธรรมนูญด้วยในตัว
2. บทเฉพาะกาล
        ในระยะ 4 ปีแรกของการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 นี้ หลักการข้างต้นของรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะยังไม่นำมาใช้บังคับ โดยผลของบทเฉพาะกาลดังต่อไปนี้
         (1) ยังไม่บังคับให้มีระบบพรรค ผู้สมัครรับเลือกตั้งยังไม่ต้องสังกัดพรรค ประชาชนเลือก ส.ส. เป็นรายบุคคลได้ ส่วน ส.ส. ก็ย้ายพรรคหรือลาออกจากพรรคได้เสมอ
         (2) ให้ข้าราชการประจำใช้อำนาจเคียงคู่กับระบบผู้แทนได้ ดังนี้
        ก. ให้วุฒิสมาชิกประชุมร่วมกับ ส.ส. ในการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล และพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ อำนาจจัดตั้งรัฐบาลจึงอยู่ที่ข้าราชการประจำด้วย
        ข. ให้ข้าราชการประจำเป็นรัฐมนตรีและข้าราชการการเมืองอื่นได้ในขณะเดียวกัน
3. สภาพการปกครองตามบทเฉพาะกาล
        ตลอดระยะเวลาแห่งการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลนี้ นอกจากการปกครองโดยระบบผู้แทนจะต้องใช้ความหมายกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่ม ข้าราชการประจำโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ในส่วนระบบความรับผิดชอบนั้น ก็สับสนสิ้นระบบไปมากทีเดียว กล่าวคือ
         (1) เมื่ออำนาจจัดตั้งและไว้วางใจรัฐบาลเป็นอำนาจของรัฐสภา ซึ่งมีวุฒิสมาชิกร่วมอยู่ด้วยเป็นจำนวนสองในสามของ ส.ส. เช่นนี้ เมื่อผนวกด้วยเสียง ส.ส. อีกเพียงเล็กน้อย อำนาจสำคัญนี้ก็ตกอยู่ในกลุ่มข้าราชการประจำโดยสิ้นเชิง นายกรัฐมนตรีจึงมาจากความไว้วางใจของกลุ่มข้าราชการประจำก่อน จากนั้นนายกฯ จึงเลือกพรรคการเมืองบางส่วนและบุคคลอื่นเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะปรับคณะรัฐมนตรีเป็นยุคที่หนึ่ง ยุคที่สองไปเรื่อย ๆ และจะสิ้นสุดยุคเหล่านี้ลงก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีสิ้นความไว้วางใจจากกลุ่ม ข้าราชการประจำจนต้องลาออกไป
        การปกครองในขณะใช้บทเฉพาะกาลจึงกล่าวได้ว่า เป็นระยะที่ระบบผู้แทนได้ตกเป็นเครื่องมือของระบบข้าราชการประจำมาโดยตลอด ซึ่งหากเป็นที่เข้าใจว่าระบบรัฐสภาเป็นกลไกของระบบผู้แทนแล้ว ก็จะสรุปได้ทันทีว่าการปกครองในขณะนั้นมีสภาก็จริง แต่ก็หาใช่ระบบรัฐสภาไม่
         (2) เมื่อมีอำนาจจากระบบข้าราชการประจำมาแทรกแซงเช่นนี้ การทำงานในลักษณะระบบรัฐสภาจึงไม่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเอง ก็ต้องรับผิดชอบต่อข้าราชการประจำไม่ใช่ต่อสภาผู้แทน รัฐบาลที่ได้รับมาจากการคัดเลือกของนายกฯ มิใช่เพราะพรรคต่าง ๆ ได้ตกลงร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างใด ส.ส. ที่ไปเป็นรัฐมนตรีจึงรับผิดชอบต่อนายกฯ มากกว่าต่อสภา หรือพรรคการเมืองของตน เมื่อต้องรับผิดชอบต่อนายกฯ มิใช่ต่อสภาเช่นนี้ ความเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีฐานะเท่าเทียมกันและร่วมกันรับผิดชอบในการตัดสินใจ จึงไม่เกิดขึ้น พรรคฝ่ายค้านก็ไม่มี มีแต่พรรคที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล และพยายามขอนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมรัฐบาลเท่านั้น ระบบรัฐสภาที่เน้นถึงความตื่นตัวต่อความรับผิดชอบตามระบบผู้แทนจึงไม่เกิด ขึ้น เพราะได้ถูกแทรกแซงโดยอำนาจของข้าราชการประจำจนขาดลอยจากระบบผู้แทนไปในที่ สุด
         (3) การที่ข้าราชการประจำได้เข้ามามีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบรัฐบาลนี้ ไม่อาจมองได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่สร้างขึ้นโดยกฎหมายแต่อย่างใด หากแต่กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญเฉพาะกาลนี้เสียอีกที่ถูกเขียนขึ้น สร้างขึ้นโดยอิทธิพลของกลุ่มข้าราชการประจำ สภาพเช่นนี้ รัฐธรรมนูญเช่นนี้ จึงเป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงความเป็นจริงอันเด่นชัดว่าโครงสร้างอำนาจการ เมืองไทยยังไม่อาจจะหลุดพ้นจากอำนาจของข้าราชการประจำไปได้ รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลเป็นแต่เพียงการรับรองอิทธิพลของข้าราชการประจำให้กลาย เป็นอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย มิต้องใช้กำลังแทรกแซงกันโดยอ้อม หรือปฏิวัติกันโดยตรงเป็นสำคัญ คำว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ที่ใช้เรียกขนานกันนั้น จึงไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะที่แท้จริงคือ “เผด็จการโดยแฝงเร้นและชอบด้วยกฎหมาย” เสียมากกว่า
         (4) สภาพสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะมองข้ามเสียมิได้ก็คือรัฐธรรมนูญเฉพาะกาลนี้ ยังมีบทบาทเป็นการสร้าง “ประชาธิปไตยในหมู่ข้าราชการประจำ” อีกด้วย เพราะช่วยให้การชิงอำนาจในหมู่ข้าราชการประจำด้วยกันเองเป็นไปโดยสงบ อาศัยการโต้แย้งและยกมือในสภาเป็นปัจจัยชี้ขาด ไม่ต้องใช้กำลังปฏิวัติซ้อนเหมือนแต่ก่อน ดังเช่นการลาออกของนายกรัฐมนตรี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นั้น ก็เป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยในหมู่ข้าราชการประจำได้ดี ส่วนเหตุการณ์ 1 เมษานั้นก็เป็นการพยายามปฏิวัติทำลายประชาธิปไตยในหมู่ข้าราชการประจำเท่า นั้นเอง
4. ระบบรัฐสภาปัจจุบัน
        แม้ในทุกวันนี้บทเฉพาะกาลจะสิ้นสุดอายุลงและรัฐธรรมนูญฉบับ ถาวรจะมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่อิทธิพลของระบบข้าราชการประจำเหนือการปกครองไทยนั้น ก็เป็นความจริงที่เขียนกฎหมายลบล้างไปไม่ได้ การสิ้นสุดของบทเฉพาะกาลจึงเป็นเพียงการยกเลิกไม่รับรองให้อำนาจตามกฎหมาย แก่กลุ่มข้าราชการประจำเท่านั้น ส่วนอิทธิพลตามความเป็นจริงนั้นยังคงอยู่และมีผลแทรกแซงผลักดันการทำงานของ ระบบผู้แทนอยู่อีกมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนเข้าสู่การปกครองโดยรัฐธรรมนูญฉบับถาวรนั้น แท้ที่จริงก็คือการเปลี่ยนจาก “เผด็จการแฝงเร้นโดยชอบด้วยกฎหมาย” มาสู่ “เผด็จการแฝงเร้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย” นั่นเอง หรือถ้ายังรักจะกล่าวในแง่ของประชาธิปไตย ก็อาจจะเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนจาก “ประชาธิปไตยครึ่งใบตามกฎหมายมาสู่ “ประชาธิปไตยครึ่งใบตามความเป็นจริง” ก็ได้ กล่าวคือ
         (1) ในส่วนการจัดตั้งรัฐบาลนั้น ก็ได้คงลักษณะเดิมไว้ โดยในชั้นแรกนายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากความไว้วางใจของกลุ่มข้าราชการประจำ เสียก่อน จากนั้นนายกรัฐมนตรีจึงจะเลือกพรรคการเมืองเข้าเป็นรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งหนทางในข้อนี้แม้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะยึดอำนาจวุฒิสมาชิกไปแล้ว แต่อำนาจตามข้อเท็จจริงหรืออิทธิพลของกลุ่มข้าราชการประจำยังคงดำรงอยู่จนทำ ให้ฝ่ายพรรคการเมืองซึ่งมีเสียงแตกแยกกัน ต้องยอมจำนนมอบอำนาจจัดตั้งรัฐบาลให้แก่ผู้ที่ข้าราชการประจำเห็นชอบไปในที่ สุด
        อำนาจจัดตั้งรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีที่ได้มาจากอิทธิพลของ กลุ่มข้าราชการประจำนี้ เป็นอำนาจในลักษณะที่อยู่เหนือพรรคการเมืองเป็นอันมาก นายกฯจะสามารถเลือกพรรคต่าง ๆ ได้ตามต้องการ และตัวบุคคลจากพรรคก็จะต้องได้รับความไว้วางใจจากนายกรัฐมนตรีด้วย ด้วยกำเนิดเช่นนี้รัฐบาลที่ได้จึงไม่ใช่รัฐบาลผสม เพราะมิได้ผสมกันหรือเจรจากันเองแต่อย่างใด
        สภาพกำเนิดรัฐบาลเช่นนี้ ระบบความรับผิดชอบทางการเมืองจะผิดเพี้ยนไปเป็นอันมาก เพราะจะเกิดความรับผิดชอบสองแนวทางเคียงคู่กันไปอยู่ตลอดเวลา คือความรับผิดชอบตามระบบผู้แทน และความรับผิดชอบต่ออิทธิพลของกลุ่มข้าราชการประจำ ดังต่อไปนี้
        ก. ความรับผิดชอบต่ออิทธิพลของกลุ่มข้าราชการประจำ ความรับผิดชอบในข้อนี้ จะเริ่มตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรีเอง ที่จะอยู่ในตำแหน่งได้ก็โดยการสนับสนุนของกลุ่มข้าราชการประจำเท่านั้น ถ้าขาดการสนับสนุนในข้อนี้เมื่อใด พรรคการเมืองทั้งหลายก็จะเลิกให้การยอมรับในทันที
        ในส่วนรัฐมนตรีทั้งหลายนั้น เมื่อมาจากความไว้วางใจของนายกรัฐมนตรี ก็ต้องรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนรัฐบาลจึงเกิดจากการเปลี่ยนใจของนายกรัฐมนตรี เมื่อขาดความไว้วางใจในรัฐมนตรีหรือพรรคการเมืองเป็นสำคัญ ส่วนการเปลี่ยนรัฐบาลเพราะสภาขาดความไว้วางใจในนายกรัฐมนตรีนั้นจะเกิดขึ้น ได้ยากลำบากมาก เพราะเป็นการต้านอำนาจของกลุ่มข้าราชการประจำโดยตรงเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้พรรคฝ่ายค้านจึงมุ่งหาเสียงสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรี หรือกลุ่มข้าราชการประจำเป็นหลัก มิใช่จากสาธารณะหรือจากพรรคร่วมรัฐบาลแต่อย่างใด
        สำหรับบทบาทของพรรคการเมืองทั้งหลายนั้น ก็ถูกความรับผิดชอบต่อกลุ่มข้าราชการประจำกำกับไว้ตั้งแต่ในชั้นจัดตั้ง รัฐบาล ยอมจำนนมอบอำนาจจัดตั้งรัฐบาลให้แก่นายกรัฐมนตรีที่ได้รับความเห็นชอบ จากกลุ่มข้าราชการประจำเสียก่อน ซึ่งถ้าพรรคใดได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มข้าราชการประจำเป็นพิเศษก็มีภาษี อยู่เป็นพิเศษเช่นกัน
        เมื่อผ่านขั้นจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ก็มาถึงขั้นดำเนินงานปกครอง ซึ่งปรากฏว่าทั้งหมดฝ่ายค้านและลูกพรรครัฐบาลต่างก็ถูกจำกัดความเคลื่อนไหว ในการใช้อำนาจควบคุมรัฐบาลทั้งในแง่นโยบายและตัวบุคคล ทั้งในแง่ความไว้วางใจทั้งคณะ หรือเฉพาะตัวรัฐมนตรีอยู่เป็นอันมาก ด้วยเหตุที่จะต้องคอยสดับตรับฟังท่าทีของกลุ่มข้าราชการประจำ หรือรับคำขอจากกลุ่มข้าราชการประจำอยู่เสมอ
        ข. ความรับผิดชอบตามระบบผู้แทนความรับผิดชอบตามระบบผู้แทนที่มุ่งสนองตอบต่อ ปัญหาของประชาชน เพื่อคะแนนเสียงความนิยมจากประชาชนนี้ได้เจือจางลงไปมาก เพราะเมื่ออำนาจจัดตั้งและไว้วางใจรัฐบาลตกอยู่ใต้อิทธิพลของกลุ่มข้าราชการ ประจำดังที่กล่าวมาแล้ว อำนาจของสภาซึ่งเป็นกุญแจของระบบผู้แทนก็แทบจะหมดความหมาย และจำกัดแต่เฉพาะบางปัญหาบางกรณีต่อไปนี้เท่านั้น
        ในส่วนของนายกรัฐมนตรีก็มิได้มาจากการเลือกตั้ง และมีอิทธิพลนอกระบบหนุนหลังจนไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนอย่างจริงจัง เป็นเหตุให้การให้ความสำคัญต่อสาธารณะ ให้คำชี้แจงต่อสาธารณะ และทำงานร่วมกับสภาไม่เข้มแข็งจริงจังเท่าที่ควร
        ในส่วนของรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลนั้น ถ้าเป็นกลุ่มในโควตาของนายกรัฐมนตรีแล้วความรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนก็จะมี อยู่โดยเจือจางเท่านั้น เพราะหากสภาลงมติไม่ไว้วางใจก็จะเท่ากับเป็นการแทรกแซงอำนาจจัดตั้งรัฐบาล ของนายกรัฐมนตรีไปในตัว
        เมื่อเป็นเช่นนี้ อำนาจควบคุมให้ความไว้วางใจรัฐบาลจึงจำกัดอยู่ที่รัฐมนตรีที่มาจากพรรคการ เมืองเท่านั้น รัฐมนตรีจากพรรคการเมืองจึงเป็นฝ่ายบริหารที่อ่อนแออยู่มาก เพราะตกอยู่ในความควบคุมต้องได้รับความไว้วางใจจากอำนาจนอกระบบ คือจากกลุ่มข้าราชการประจำ และจากนายกรัฐมนตรี และในขณะเดียวกันก็ต้องรับผิดชอบตามระบบผู้แทน คือจากพรรคการเมืองของตน พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านด้วย ทั้งนี้โดยมีอำนาจของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดอยู่ในที่สุด การวิพากษ์วิจารณ์ในสภาที่มีต่อรัฐมนตรีพรรคใดจึงมุ่งโน้มน้าวใจของนายก รัฐมนตรีมากกว่าสาธารณะชน หรือ ส.ส. ในสภา ซึ่งก็ทำให้มีค่าเป็นเพียงการแย่งกันได้รับความไว้วางใจจากนายกรัฐมนตรี มากกว่าแย่งกันหาคะแนนนิยมจากประชาชนไปในที่สุด
         (2) จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการปกครองเช่นนี้ เรียกได้ว่าเป็นการปกครองแบบ “เผด็จการแฝงเร้นตามความเป็นจริง” ได้อย่างมีความหมายทีเดียว กล่าวคือ
        ในส่วนที่เป็น “เผด็จการ” นั้น ก็เพราะมีลักษณะของการใช้กำลังเป็นตัวกำหนดความเป็นไปในการจัดตั้งรัฐบาลอยู่ด้วย
        ส่วนที่กล่าวว่า “แฝงเร้น” นั้น ก็เพราะมิได้เป็นผู้รับผิดชอบเป็นรัฐบาล เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายด้วยตนเองเหมือนเผด็จการโดยเปิดเผยเช่นในอดีตแต่อย่างใด
        สำหรับลักษณะที่ว่าเป็นพฤติการณ์ตามความเป็นจริง ก็หมายถึงว่ามิได้มีกฎหมายรับรองการใช้อิทธิพลของตนให้ชอบกฎหมายเหมือนเช่น ในสมัยใช้บทเฉพาะกาลแต่อย่างใด
         (3) ระบบประหลาดที่วิเคราะห์มานี้ มีผลกระทบต่อการปกครองในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้ทำให้ระบบความรับผิดชอบแทรกซ้อนกันจนสับสนไปหมด อันจะก่อให้เกิดผลกระทบที่น่าวิตกอยู่สองประการด้วยกันคือ
        ก. ผลเสียหายต่อระบบข้าราชการประจำและระบบพรรคการเมือง ระบบรัฐบาลที่รับผิดชอบสองแนวทางนี้ จะมีผลทำให้ระบบข้าราชการประจำและพรรคการเมืองต้องแทรกแซงซึ่งกันและกันจนมี ผลทำลายซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลาเลยทีเดียว
        ในเบื้องต้นพรรคการเมืองจะตกเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบแต่ไม่ ใช่ผู้มีอำนาจ เพราะได้อำนาจจากการเลือกตั้งมาให้ทำงานเพื่อคะแนนเสียงในสมัยหน้า ก็กลับมอบอำนาจให้ผู้อื่นซึ่งมิได้รับผิดชอบต่อการเลือกตั้งแม้แต่น้อย หากการบริหารประเทศได้ผลดีก็เป็นคุณงามความดีของบุคคลนอกระบบ หากการบริหารประเทศเสียหายก็มิใช่เพราะฝีมือพรรคการเมืองอีกเช่นกัน การเลือกตั้งครั้งหน้าจึงไม่มีความหมายให้ประชาชนทบทวนการตัดสินใจของตน เองอย่างใด เพราะการเลือกตั้งครั้งใดก็ไร้ความหมายอยู่ทุกทีไปเช่นนี้ ดังนั้นคุณค่าของการเลือกตั้ง ซึ่งก็คือคุณค่าของพรรคการเมืองก็ต้องด้อยค่าจากสายตาของประชาชนในที่สุด หนทางพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นพรรคการเมืองจึงสิ้นหวังไปตามกัน
        ในทางตรงกันข้ามเมื่อกลุ่มข้าราชการประจำเข้ามามีอำนาจใน ระบบรัฐบาลได้เช่นนี้ ระบบข้าราชการประจำก็จะต้องตกเป็นเป้าแห่งการหาเสียงและชักจูงให้มีบทบาททาง การเมืองอยู่ตลอดเวลา ทั้งโดยพรรคการเมือง, กลุ่มพลัง และพรรคการเมืองต่าง ๆ พรรคการเมืองที่ต้องการเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรีก็ต้องพยายามวิ่งเต้นหาเสียงสนับสนุนจากกลุ่มข้าราชการประจำ ที่มีอิทธิพลทางการเมือง ทั้งในระดับสูงและระดับรอง โอกาสที่ข้าราชการประจำในหลายระดับจะเกิดความตื่นตัวในทางการเมือง และมีความเห็นแตกต่างกันไปในแนวทางต่าง ๆ ก็จะทวีมากขึ้น จนทำให้เสถียรภาพในการบังคับบัญชาไม่มั่นคงเพราะไม่ได้ดำรงตนอยู่ในงานประจำ หรือมีส่วนทางการเมืองแต่เฉพาะในหมู่บ้านข้าราชการระดับสูงเหมือนเช่นแต่ ก่อน ระบบข้าราชการประจำซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่ความรู้ความสามารถการบังคับบัญชา และการปฏิบัติตามคำสั่งกฎเกณฑ์จึงเสื่อมคลายไปด้วยในตัว
        ด้วยข้อพิจารณาดังกล่าวระบบรัฐบาลสองแนวทางนี้จึงมีผลทำลายสถาบันการปกครองของรัฐในระยะยาวอย่างน่าวิตกมากทีเดียว
        ข. ความชะงักงันของระบบการปกครอง นอกจากความเสื่อมในระยะยาวแล้ว ในปัจจุบันนั้นก็มีปัญหาที่น่าวิตกเช่นกัน โดยสภาพที่ผู้มีอำนาจไม่ต้องรับผิดชอบ และผู้ที่ต้องรับผิดชอบก็ไม่มีอำนาจเช่นนี้ ก็ไม่มีทางจะได้การปกครองที่มีประสิทธิภาพได้
        ในส่วนระบบผู้แทนนั้น เมื่อไม่มีอำนาจปกครองโดยเต็มที่ ก็จะท้อถอยต่อความรับผิดชอบจนหมดความตื่นตัวต่อปัญหาต่าง ๆ ไปทุกขณะ ส่วนนายกรัฐมนตรีเองนอกจากจะไม่ต้องรับผิดชอบต่อการเลือกตั้งแล้ว ในส่วนของอำนาจนั้นก็ต้องอาศัยสถานการณ์และแรงสนับสนุนจากข้าราชการประจำ เป็นสำคัญ จะให้เข้มแข็งเป็นผู้นำเหมือนเช่นเป็นประธานาธิบดีนั้นไม่ได้ แต่มีฐานะเป็นผู้ประนีประนอมเท่านั้น
        ท้ายที่สุดทางกลุ่มข้าราชการประจำเองแม้จะมีอำนาจแต่ก็เป็น อำนาจโดยอ้อม และไม่อยู่ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด เพราะมิได้มีอำนาจโดยอาศัยคะแนนเสียงจากประชาชนหรือรับผิดชอบด้วยชีวิต เหมือนคณะปฏิบัติ กรณีนี้จึงเป็นอำนาจที่มีหน้าที่สามารถเลือกใช้อำนาจได้ตามกาละและโอกาสตลอด เวลา จะหวังให้เป็นที่มาของการปกครองอันจริงจังนั้นไม่ได้
        สภาพทั้งหมดที่ประมวลมานี้ ปัญหาปัจจุบันจึงมีหัวใจมีต้นตออยู่ที่ระบบแห่งอำนาจและระบบแห่งความรับผิด ชอบ มิได้อยู่ในระบบเดียวกัน การรับผิดชอบปกครองประเทศอย่างจริงจังหรือการใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างจริง จังจึงไม่เกิดขึ้น ประหนึ่งว่าเป็นการปกครองแบบรักษาการ รักษาการเพื่อรอสถานการณ์ใหม่ที่ไม่มีใครทำนายได้แม้แต่น้อย

รายนามประธานรัฐสภาไทย

ลำดับ คนที่ สมัยที่ รายนาม ตำแหน่ง ระยะเวลา รูป
1 1 (1) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร 28 มิ.ย. 2475 - 1 ก.ย. 2475 Tamasak03.JPG
2 2
เจ้าพระยาพิชัยญาติ
(ดั่น บุนนาค)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 ก.ย. 2475 - 10 ธ.ค. 2476
3
(2) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร 15 ธ.ค. 2475 - 26 ก.พ. 2476 Tamasak03.JPG
4 3 (1) พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี
(กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร 26 ก.พ. 2476 - 22 ก.ย. 2477
5 4
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
(จิตร ณ สงขลา)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร 22 ก.ย. 2477 - 31 ก.ค. 2479 จิตร ณ สงขลา 2.jpg
6 5 (1) พระยามานวราชเสวี
(ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร 3 ส.ค.2479 - 10 ธ.ค.2480 พระยามานวราชเสวี.jpg
7
(2) พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ประธานสภาผู้แทนราษฎร 6 ก.ค.2486 - 24 มิ.ย.2487
8
(2) พระยามานวราชเสวี ประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 ก.ค.2487 - 24 มิ.ย.2488 พระยามานวราชเสวี.jpg
9 6
พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ ประธานพฤฒสภา 4 มิ.ย.2489 - 24 ส.ค.2489
10
(3) พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ประธานพฤฒสภา 31 ส.ค.2489 - 8 พ.ย.2490
11
(4) พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ประธานวุฒิสภา 26 พ.ย.2490 - 29 พ.ย.2494
12 7
พลเอก พระประจนปัจจนึก
(พุก มหาดิลก)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 ธ.ค.2494 - 20 ต.ค.2501
13 8 (1) พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร
(สุทธิ สุขะวาที)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร 20 ก.ย.2500 - 14 ธ.ค.2500
14
(2) พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ 6 ก.พ.2502 - 17 เม.ย.2511
15 9
นายทวี บุณยเกตุ ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ 8 พ.ค.2511 - 20 มิ.ย.2511 Tawee Boonyaket.jpg
16 10
พันเอก นายวรการบัญชา
(บุญเกิด สุตันตานนท์)
ประธานวุฒิสภา 22 ก.ค.2511 - 17 พ.ย.2514 Naiworakarnbancha.jpg
17 11
พลตรี ศิริ สิริโยธิน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 18 ธ.ค.2515 - 11 ธ.ค.2516
18 12
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 29 ธ.ค.2516 - 7 ต.ค.2517 คึกฤทธิ์ ปราโมช.jpg
19 13
นายประภาศน์ อวยชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 17 ต.ค.2517 - 25 ม.ค.2518 Prapat a.jpg
20 14
นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร 7 ก.พ.2518 - 12 ม.ค.2519
21 15 (1) นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร 19 เม.ย.2519 - 6 ต.ค.2519 U-tai.gif
22 16
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
ทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
22 ต.ค.2519 - 20 พ.ย.2519
23 17 (1) พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 28 พ.ย.2519 - 20 ต.ค.2520 หะริน หงสกุล.png
24
(2) พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 25 พ.ย.2520 - 22 เม.ย.2522 หะริน หงสกุล.png
25
(3) พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานวุฒิสภา 9 พ.ค.2522 - 19 มี.ค.2526 หะริน หงสกุล.png
26 18
นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานวุฒิสภา 26 เม.ย.2526 - 19 มี.ค.2527
27 19 (1) นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานวุฒิสภา 30 เม.ย.2527 - 21 เม.ย.2532 Ukit.gif
28 20
ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานวุฒิสภา 4 พ.ค.2532 - 23 ก.พ.2534
29
(2) นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 เม.ย.2534 - 21 มี.ค.2535 Ukit.gif
30
(3) นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานวุฒิสภา 3 เม.ย.2535 - 26 พ.ค.2535 Ukit.gif
31 21 (1) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา 28 มิ.ย.2535 - 29 มิ.ย.2535 Meechai.jpg
32 22
นายมารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎร 22 ก.ย.2535 - 19 พ.ค.2538 Marud.jpg
33 23
นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานสภาผู้แทนราษฎร 11 ก.ค.2538 - 27 ก.ย.2539 Bunuar prasertsuwarn.jpg
34 24
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร 24 พ.ย.2539 - 27 มิ.ย.2543 Wan muhammad.jpg
35 25
นายพิชัย รัตตกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร 30 มิ.ย.2543 - 9 พ.ย.2543 Bhichai Rattakul.jpg
36
(2) นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร 6 ก.พ.2544 - 5 ม.ค.2548 U-tai.gif
37 26
นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ม.ค.2548 - 24 ก.พ.2549 Phokin.jpg
38
(2) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 11 ตุลาคม 2549 - 19 มี.ค.2551 Meechai.jpg
39 27
นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร 23 ม.ค.2551 - 30 เม.ย. 51[1] Yongyut Tiyapairat.jpg
40

นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา
รักษาการแทน ในฐานะรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง
19 มี.ค.2551 - 15 พ.ค.2551 Prasopsuk.jpg
41 28
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร 15 พ.ค.2551 - ปัจจุบัน Chai-chid.jpg